อันเนื่องมาจากต้องทำการวิเคราะห์สถิติในงานวิจัยทางการแพทย์เรื่องนึง....เจ้าของงานวิจัยให้ช่วยอธิบายว่าข้อมูลของเขาทำไมหาค่านี้ไม่ได้ ก็พยายามกันอยู่พักใหญ่เห็นว่าเรื่องที่เถียงกันหน้าดำหน้าแดงน่าจะพอเป็นประโยชน์กับพวกเราได้บ้างเลยเอามาลงไว้ให้ตรงนี้
Survival Analysis ใช้ภาษาไทยว่า การวิเคราะห์การอยู่รอด หรือการวิเคราะห์การดำรงอยู่
มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น Reliability Analysis, Duration Analysis, Event History Analysis, Transition Analysis, Failure Time Analysis เป็นต้น
ต้องถามก่อนว่าตัวเองกำลังติดตามหรือสังเกตุการณ์อะไร คือดูว่าเหตุการณ์นั้นๆเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อเวลาผ่านไป (หรือ ดูว่าเหตุการณ์นั้น ไม่เกิดก็ได้).....เพราะฉะนั้นตัวแปรตามคือระยะเวลาที่ดำเนินไปถึงจุดที่เราติดตามสังเกตุการณ์จนเห็นเหตุการณ์นั้น ..........หมายความว่าถ้าเราจะเก็บข้อมูลต้องมีข้อมูลเวลาอย่างน้อย 2 ค่า คือเวลาเริ่มต้น และเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ถ้าเก็บแค่ค่าเดียวก็ทำการวิเคราะห์แบบนี้ไม่ได้ (ที่ขำไม่ออกคือ ส่วนใหญ่มักเก็บเวลาตัวที่ 2 ไม่ได้ แต่กรณีไปขุดจากเอกสารเวชระเบียน คือทำ Retrospctive ก็พบว่าด้วยความสมบูรณ์น้อย ก็อาจไม่ได้แม้แต่ระยะเวลาเริ่มต้นด้วย งานวิจัยนี้ขำไม่ออกก็ตรงนี้แหละ)
การแปลผลทางการแพทย์ เป็นการประมาณความน่าจะเป็นของการอยู่รอดของผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ และมักใช้กรณีที่เหตุการณ์ที่เราสังเกตุเป็นเรื่องเกี่ยวกับ morbidity หรือ mortality หลังจากที่เราให้ intervention อย่างใดอย่างหนึ่งไป ถ้าถามว่าใช้กับกรณีที่ดีๆบ้างได้มั๊ย.....ก็ตอบได้เลยว่า ได้ ! เวลาเขียนบรรยายผลการวิเคราะห์ก็อย่า...งง...กับตัวแปรว่าตกลงเรากำลังสังเกตุเหตุการณ์อะไรกันแน่ ก็แล้วกัน
การนำเสนอข้อมูลมักทำในรูป survival graph ซึ่งสามารถเสนอได้ 2 วิธี คือ Kaplan-Meier Method หรือ Live Table Method
Kaplan-Meier Method - ใช้ Survival function ในการคำนวณ นิยมใช้กรณีข้อมูลน้อย
Live Table Method - ใช้ Hazard function ในการคำนวณ นิยมใช้กรณีข้อมูลมาก
ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ส่วนใหญ่ใช้ 3 วิธี ได้แก่ logrank test, Wilcoxson test หรือ Likelihood ratio ก็เลือกดูเอาเองนะ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment